ท่านกำลังเยี่ยมชมเทศกาลที่ผ่านมา เยี่ยมชมเทศกาลปัจจุบัน

รำแพน

สุขสงบ ศรัทธา สุนทรียะ สมบูรณ์

ฐานที่มัั่นสุดท้าย นกยูงไทย “นกยูงไทย”หรือนกยูงเขียว(green peafowl) เป็นนกในตระกูลไก่ฟ้าที่มีความสวยงามมีคุณค่าและเป็นนกยูงที่หายากชนิดหนึ่งของโลก ปัจจุบันพบว่าประชากรนกยูงถูกคุกคามในหลายพื้นที่จากการสูญเสียที่อยู่อาศัย การถูกล่า เพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ทำให้ประชากรของนกยูงลดลงอย่างรวดเร็ว และสูญพันธุ์ไปจากแหล่งกระจายดั้งเดิม เมื่อเชื่อมโยงเข้ากับจังหวัดพะเยา ปัจจุบันพบประชากรนกยูงเขียวจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง และวนอุทยานร่องคำหลวง จังหวัดพะเยา ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะสังเกตเห็นนกยูงจำนวนมากลงมาหาอาหารในพื้นที่ของเกษตรกรของชุมชนโดยรอบเขตพื้นที่อนุรักษ์จนถึงช่วงเดือนมีนาคม นกยูงจะกลับคืนสู่ป่า การพบร่องรอยของนกยูงไทย ที่ข่วงนกยูงในพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน อาทิ สวนข้าวโพด แปลงนาข้าว สวนลำไย โดยเฉพาะในช่วงเช้าและช่วงเย็น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นกยูงไทยลงมาหาแหล่งอาหาร เนื่องจากในช่วงหน้าแล้งพืชในป่าขาดแคลนและด้วยประชากรของนกยูงที่มีจำนวนค่อนข้างมากทำให้แหล่งอาหารไม่เพียงพอ นกยูงจึงออกมาหาอาหารนอกป่า เพื่อความอยู่รอด จากพฤติกรรมของเหล่านกยูงมักจะออกมาหาอาหารในพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน นอกจากชาวบ้านจะเดือดร้อนแล้ว อาจส่งผลให้นกยูงมีพฤติกรรมรุนแรง เช่น จิกกัดคน เนื่องจากชาวบ้านใช้วิธีการไล่นกยูง ด้วยการจุดประทัดบ้าง หรืออาจใช้อาวุธที่รุนแรง จากการศึกษาการวางไข่ การทำรัง รวมถึงศัตรูทางธรรมชาติ รวมไปถึงมนุษย์ที่ล่าสัตว์ป่าและเก็บของป่า และแม้กระทั่งวิกฤตไฟป่า ทำให้นกยูงค่อย ๆ สูญพันธุ์ลง คนอยู่ได้ นกยูอยู่ได้ อย่างมีความสุข "โครงการด้านการอนุรักษ์นกยูงไทย" จึงมีจุดเริ่มต้นจากโครงการวิจัย ที่ได้เห็นความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับนกยูงไทย ที่กำลังขยายตัว ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2559 เป็นต้นมา โครงการเล็ก ๆ ที่สามารถลดการกระทบกระทั่งระหว่างคนกับสัตว์ป่าสงวนได้ขยายตัวใหญ่ขึ้น เป็นชุมชนที่มุ่งในการจัดการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์นกยูงไทย จนได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่ขยายใหญ่ขึ้น โดยมี มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ทำให้การดำเนินการอนุรักษ์นกยูงไทยควบคู่ไปกับการกินดีอยู่ดีของประชาชน ลดการกระทบกระทั่งระหว่างคนและสัตว์ป่าได้อย่างยั่งยืน เพื่อการอยู่แบบ "คนอยู่ได้ นกยูงอยู่ได้ อย่างมีความสุข" รำแพนแบรนด์ Local สู่เลอค่า การจะนำล้านนาสู่การเป็น "เมืองรักษ์นกยูงไทย" จำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ประการแรก คือ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรธรรมชาติ ประการที่สอง การเชื่อมโยงนกยูงในมิติสังคม วัฒนธรรมและความเชื่อ ประการสุดท้าย การค้า การสร้างแบรนด์โดยใช้นกยูงเป็นจุดขาย เพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างสร้างสรรค์